ลำดับความเป็นมาจากความทรงจำของนายยอด วัฒนสินธุ์ ผู้อำนวยการคนไทยคนแรก

นายยอด วัฒนสินธุ์
นายยอด วัฒนสินธุ์

ลำดับความเป็นมาจากความทรงจำของนายยอด วัฒนสินธุ์
ผู้อำนวยการคนไทยคนแรก

การที่ประเทศไทยได้โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมมานี้ เริ่มแรกรัฐบาลและประชาชนชาวเดนมาร์กต้องการที่จะถวายของที่ระลึกแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระบรมราชินีนาถในโอกาสเสด็จ เยือนประเทศเดนมาร์กในปี 2503 ซึ่ง มร.เอฟ.เอ.มอนท์ เอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย ได้รับมอบหมายให้มาสอบถามว่าควรถวายอะไร ตุณสุรเทิน บุนนาค เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของเอฟเอโอ ในขณะนั้นเสนอว่าน่าจะถวายโครงการเลี้ยงโคนมแต่ท่านเอกอัครราชทูตไม่เห็น ด้วย

คุณสุรเทินชี้แจงไปว่าหากจะอ้างเหตุผลในการไม่ให้เพราะเมืองไทยเป็นเมือง ร้อนเลี้ยงโคนมไม่ได้นั้นเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เนื่องจากขณะนั้นอิสราเอลสามารถทำได้แล้วและโคของเขาให้น้ำนมเฉลี่ยตัวละ ประมาณ 5,000 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งมากกว่าทุกประเภทในยุโรป ท่านเอกอัครราชทูตจึงได้ขอดูข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ในประเทศ ไทย

หลังจากนั้นได้เดินทางไปสำรวจแหล่งเลี้ยงสัตว์แถบทับกวาง มวกเหล็กและปากช่องโดยพักแรมกันที่นิคมพระพุทธบาท ท่านเอกอัครราชทูตกล่าวกับคณะของเราว่า หากตั้งสถานที่เลี้ยงโคนมขึ้นมาได้ก็ยังไม่ใช่ความสำเร็จ แต่ความสำเร็จคือการที่จะนำความรู้กระจายออกไปสู่ประชาชนให้สามารถเลี้ยงโค นมได้

ในที่สุดโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยก็ผ่านไปถึงกระทรวง เกษตรของเดนมาร์ก และได้ระดมผู้ที่มีความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์และเคยทำงานในประเทศไทยเข้าไป ให้ความเห็นในเรื่องนี้ มร.ซันเดอร์กอร์ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฟาร์ม
โคนมไทย-เดนมาร์กคนแรกภายหลังการก่อตั้งและ มร.มูนท้อป ที่รู้เรื่องการเลี้ยงโคและการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยเป็นอย่างดีให้ความ เห็นว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้และน่าจะดำเนินการอย่างมากนอกจากนี้การช่วย ให้ประเทศไทยได้รู้จักการเลี้ยงโคนมนั้นนอกจากจะช่วยให้มีนมบริโภคอันเป็น เรื่องเล็ก สิ่งที่สำคัญคือจะเป็นการช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินสามารถลดการถาง ป่าเพื่อทำไร่เพราะอาชีพการเลี้ยงโคนมต้องอยู่เป็นที่ และยังมีปุ๋ยบำรุงดินอย่างเพียงพอที่จะทำกินถึงลูกถึงหลานซึงเท่ากับเป็นการ ช่วยเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง

พอเรื่องเสนอเข้าไปพิจารณาในสภาองเดนมาร์ก ปรากฎว่ามีมติเป็นเอกฉันท์ อนุมัติให้โครงการการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมกับ
ประ ทศไทยและให้เงินช่วยเหลือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 13 ล้านบาท โดยสมาคมเกษตรกรและรัฐบาลเดนมาร์กออกฝ่ายละครึ่ง จากนั้นได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจหาที่ตั้งฟาร์ม ขึ้นเฮลิคอปเตอร์สำรวจกันตั้งแต่เขาใหญ่จนถึงหัวหินและผลสุดท้ายเลือก มวกเหล็กเพราะมีถนนมิตรภาพตัดผ่านรวมทั้งมีน้ำตกมวกเหล็ก

หลังจากสำรวจเดนมาร์กเสนอเงื่อนไขสองประการ คือ ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจเต็มในการใช้เงินและการดำเนินการ และขอเลือกคณะเจ้าหน้าที่ที่จะมาร่วมงานเองซึ่งรัฐบาลไทยยอมตกลง ทางเดนมาร์กมาคุยกับผมว่าอยากให้รัฐบาลไทยมีส่วนร่วมลงทุนด้วยในสัดส่วน ประมาณ 20 – 25% เพื่อจะได้ให้ความสนใจกับโครงการนี้อย่างจริงจัง

ผมเอารายงานความเห็นของสภาพัฒนาฯ เป็นภาษาอังกฤษหนา ๗ หน้ากระดาษไปให้เขาดูซึ่งรายงานฉบับนั้นสรุปย่อๆ ว่าการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยเป็นเรื่องเพ้อฝัน ไม่มีทางทำได้ในเขตร้อน และถึงจะทำได้ก็ไม่คุ้มทุนทางที่ดีคือปลูกข้าวให้ได้มากและเอาเงินไปซื้อนม กิน ทางเดนมาร์กอ่านรายงานจบก็บอกว่ารัฐบาลไทยคงไม่เอาด้วยแน่จึงออกเงินลงทุน เองทั้งหมด

เริ่มถางป่ามวกเหล็กเพื่อเป็นที่ตั้งฟาร์มเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2503 ตอนถางป่าความที่เป็นป่าทึบมองเห็นเนินเขาที่เป็นที่ตั้งบ้านผู้อำนวยการใน ปัจจุบันก็ลุยขึ้นไปปรับที่ตั้งใจจะสร้างเป็นโรงเลี้ยงโค พอดีคนงานอีกชุดเปิดป่าลงมาพบเนินอีกลูกซึ่งมีพื้นที่กว้างกว่าเลยพักงานทาง ด้านโน้นหันมาลุยสร้างโรงเลี้ยงที่นี่แทน พอสร้างเสร็จถึงได้รู้ว่าโรงเลี้ยงโคเอียงเข้าหาถนนเพราะตอนสร้างจับทิศทาง ไม่ได้และในวันที่ 16 มกราคม 2505 ก็ทำพิธีเปิดฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าเฟรดเดอริกแห่งประเทศเดนมาร์ก

หลังจากให้โครงการมาแล้วทางเดนมาร์กเองก็ยังไม่แน่ใจว่าไทยเราจะทำได้ ก่อนหน้านี้เขาเคยไปส่งเสริมในประเทศอื่นมาแล้ว 5 แห่ง ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยต่อปีที่สูงคือที่ศรีลังกาเคยทำได้ ปีละ 2,500 กิโลกรัม แต่ปรากฏว่าของไทยเราทำได้ถึง 3,388 กิโลกรัมต่อปีในระยะการให้นมครั้งแรก เขาดีใจมากถึงกับพาไปฉลองเลย

ท่านสามารถดาวน์โหลด 50 ปี อ.ส.ค.